“รวมวัดในสุรินทร์ สวยแค่ไหนต้องไปดู”
วัดสังข์มงคล
ชวนเที่ยววัดสังข์มงคล เมรุปลอดมลพิษสวยที่สุดในไทย
ฝีมือพระหนุ่มนักพัฒนา ทางวัดได้มีการสร้างร้านกาแฟ ขายน้ำหวานต่างๆ
รวมทั้งยังเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านที่มีผ้าไหม และผลิตภัณฑ์โอทอปต่างๆ มาจำหน่าย
เป็นการช่วยระบายสินค้าให้กับชาวบ้านอีกแรง เป็นการพึ่งพากันและอยู่ร่วมกันระหว่างวัดและชุมชนควบคู่กันไป
ที่มา : ชวนเที่ยววัดสังข์มงคล เมรุปลอดมลพิษสวยที่สุดในไทย ฝีมือพระหนุ่มนักพัฒนา (คลิป) (thairath.co.th)
วัดบูรพาราม อารามหลวง
อยู่หมู่ที่ 1 ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง ตรงข้ามกับสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อพระชีว์
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก ปั้นด้วยเนื้อดินเผาอัดแน่น
มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะแบบขอม ซึ่งเป็นพระประธานของวัด
สมัยก่อนทางการได้ให้ข้าราชการที่ต้องทำพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยามาทำพิธีต่อหน้าหลวงพ่อพระชีว์
ซึ่งต่อมากลายเป็นที่พึ่งทางใจในการบนบานศาลกล่าวและอธิษฐานเพื่อให้ประสบผลสำเร็จหรือปกปักษ์รักษา
ที่มา : https://thai.tourismthailand.org
วนอุทยานเขาสวาย
วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบล คือตำบลนาบัว ตำบลสวาย
มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พนมสวายคือ ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป
วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย
และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร
ที่มา https://sites.google.com
วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร
พุทธอุทยานวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่
ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น
เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอีสานใต้ของประเทศไทย
มีก้อนหินซ้อนเทินกันรูปทรงแปลกๆ ที่นักถ่ายภาพไม่ควรพลาด
และยังมีมีการแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาทขอมโบราณ
ที่มา https://kaninoat99.wordpress.com